***ชี้แจง-บทความนี้เป็นบทความเดิมที่ผมแปล มาสมัยลงในเว็บเซี่ยวเฉิน ใครเคยเห็นหรือเคยอ่านก็อย่าแปลกใจครับ ผมแปลเอง แต่มาดูการแปลของตัวเองสมัยก่อนแล้ว มันช่าง…
แปลโดย Admin

(***เพื่อให้เขียนง่าน ผมเขียนไท่จี๋เฉวียนเป็นไท่จี๋ฉวนนะครับ)

ประโยค “ก้าวเท้าโดยไม่ทิ้งน้ำหนักไปยังเท้าหลังก่อนในท่าปัด เข่า ย่าง ก้าว” มาจาก ไท่ จี๋ ฉวน สู่ โดย กู่ หลิว ชิน ในหน้า 127 อธิบายถึงการเคลื่อนไหวของ ไท่ จี๋ ฉวน แบบตระกูลหยางว่า “ไม่ทิ้งน้ำหนักยังเท้าหลังก่อนเก้าเท้าออกไปในท่าปัดเข่าย่างก้าว (โลว ซี เอ้า ปู้) เพราะเมื่อนั่งกลับยังเท้าหลังจะสูญเสียโอกาสของการโจมตีต่อเนื่อง และเป็นการเคลื่อนไหวที่เปล่าประโยชน์” โดยประโยคนี้ สามารถเห็นถึงรูปแบบที่เป็นรูปธรรมที่แสดงถึงความแตกต่างที่สำคัญยิ่งระหว่าง ไท่ จี๋ ฉวน แบบตระกูลหยาง ของอาจารย์หยาง เฉิง ฝู่ และแบบมาตรฐานชุดใหม่ที่ดัดแปลงขึ้นตั้งแต่ปี 1950 ได้แก่ แบบ 24 ท่า แบบ 88 ท่า และแบบ 48 ท่า ซึ่งในการรำจะทิ้งน้ำหนักกลับยังเท้าหลังก่อนก้าวเท้าไปยังด้านหน้า ยกตัวอย่างเว้นการก้าวเท้าจากท่าปัด เข่า ซ้าย ย่าง ก้าว (จั่ว โลว ซี เอ้า ปู้) ไปยังท่า ปัดเข่าขวาย่างก้าว (โย่ว โลว ซี เอ้า ปู้) อธิบายได้ดังนี้ “ขาขวาค่อยๆ งอเข่า ขณะที่ร่างกายทิ้งนั่งลง น้ำหนักย้ายไปยังขาขวา ปลายเท้าซ้ายเปิดขึ้น แล้วปิดออก งอขวาซ้ายวางปลายเท้าลงบิดลำตัวไปทางซ้าย แล้วย้ายน้ำหนักไปยังขาซ้าย” ในชุดฝึกไท่ จี๋ ฉวน ที่กำหนดขึ้นในปี 1980 ได้แก่ ชุดรำ ไท่ จี๋ ฉวน แบบแข่งขัน (ไท่ จี๋ ฉวน จิง ไช่ เทา ลู่) ล้วนประกอบด้วย การย้ายน้ำหนักโดยนั่งกลับหลังก่อนก้าวเท้าไปข้างหน้า เช่น ในท่า ปัด เข่า ขวา (โย่ว โลว ซี) ซึ่งตามด้วยท่าปัดเข่าซ้าย (จั่ว โลว ซี) และท่ายกมือป้อง ซึ่งมาจากท่าแส้เดี่ยว (ตันเปียน) ในท่ารำแบบแข่งขันของหยาง ไท่ จี๋ ฉวน (หยาง ซื่อ ไท่ จี๋ ฉวน จิง ไช่ เทา ลู่) ประกอบด้วย 5 ท่า ซึ่งต้องทิ้งน้ำหนักกลับยังเท้าหลังก่อนจึงก้าวเท้าไปด้านหน้า ประกอบด้วย งู ขาว แลบลิ้น (ไป่ เสอ โท่ว ซิน) จากท่าพัดข้ามไหล่ ( ชาน ทง เป้ย) และคว้าจับหางนกกระจอก (หลาน เชี่ย เว่ย) จากท่า ชกหว่างขา (จื่อ ตาง ฉุย)

อาจารย์เหม่ย หยิง เชิง ได้ศึกษาหนังสือหลักและทฤษฎีไท่จี๋ฉวนของอาจารย์หยางเฉิ้งฝู่ หยาง ไท่ จี๋ ฉวน ของอาจารย์ ฝู่ จง เหวิน, หยาง ไท่ จี๋ ฉวน ที่แท้ของ เซ้า ปิน , อรรถาธิบาย หยาง ไท่ จี๋ ฉวน ของหวัง หย่ง ฉวน, ไท่ จี๋ ฉวน ที่แท้ของ อู๋ สี่ ชิง, ไท่ จี๋ ฉวน เบื้องต้น โดยหวง หาน จี, ศิลปะแห่ง ไท่ จี๋ ฉวน โดยกู่ หลิว ชิน และหนังสือโดย อาจารย์ ไท่ จี๋ ที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม จากหนังสือทั้งหมดข้างต้น ไม่มีสักเล่มที่อธิบายถึงการย้ายน้ำหนักกลับก่อนก้าวเท้าไปด้านหน้า อาจารย์เหม่ย หยิง เซิง ได้ศึกษามวยไท่ จี๋ กับศิษย์หลายคน ของอาจารย์ หยาง เฉิง ฝู่ ได้แก่ อาจารย์ ฝู่ จง เหวิน, เส้าปิน, กู่ หลิว ซิน และหยาง เส้า ชิน ซึ่งทั้งหมดล้วนกล่าวถึงหลักและวิธีของไท่ จี๋ ฉวน แบบหยาง ว่าการทิ้งน้ำหนักกลับก่อนก้าวเท้าไปข้างหน้า ว่าเป็นความ “น่าหัวเราะ” และโง่เขลา” อาจารย์เหม่ย ได้เปรียบเทียบวิธีการอันแตกต่างระหว่างวิธีการก้าวเท้าในไท่จี๋ฉวนแบบหยาง กับชุดมาตรฐาน ซึ่งนั่งกลับก่อนก้าวเท้าและอธิบาย ว่าวิธี “นั่งกลับก่อนย่างเท้า” ประกอบด้วยข้อเสียดังนี้

1. ไม่เป็นการสอดคล้องกับคัมภีร์โบราณที่ว่า “ก้าวเท้าเหมือนแมว เคลื่อนเหมือนสาวไหม” (ว่าน ปู้ รู เหมา สิง, ต่ง โจ่ว รู โซว ซือ) เก้าเท้าแบบแมวหรือเท้าเสือ คือ การอธิบายถึงความคล่อง, ราก, มั่นคง และต่อเนื่องในการก้าวเท้าของแมว เมื่อแมวติดตามอาหารแมวก้าวเท้าโดยไม่ได้ทิ้งน้ำหนักกลับ ในการฝึกผลักมือ (ทุย โส่ว) ไม่ว่าในการผลักมือ, เคลื่อนที่ (ฮว่า ปู้ ทุย โส่ว) การผลักมือแบบอยู่กับที่ (ติ้ง ปู้ ทุย โส่ว) หรือผลักมือแบบเคลื่อนที่อิสระ (หลาน ไฉ่ ฮวา) ล้วนไม่มีวิธีในการนั่งกลับก่อนก้าวเท้า เมื่อถอย คือ ก้าวเท้าไปด้านหลัง ไม่มีความจำเป็นที่ต้องย้ายน้ำหนักไปด้านหน้าก่อน แล้วค่อยถอยหลัง ในคัมภีร์โบราณ กล่าวไว้ว่า “การรุกหน้าโดยพลัง (การโจมตี) แข็งแกร่ง นำสู่ชัยชนะ การก้าวถอนหลบคมดาบคือ ทางสู่ความพ่าย“ ดังนั้นจึงไม่ควรย้ายน้ำหนักของร่างกายโดยการนั่งกลับหลังก่อนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่น ในท่า ก้าวเท้า กำหมัด ขวางฟาด (ปาน หลาน ชุ่ย) จากส่วนแรก (เก๊กแรก) ของท่ารำ 108 ท่า ของอาจารย์หยาง เฉิง ฝู่ ก่อนก้าวเท้าไม่มีการถอยน้ำหนักก่อนในท่าถอยหลังผลักลิง (เตา เหนียน โห่ว) ก่อนก้าวถอยหลังก็ไม่มีการเคลื่อนร่างกายไปข้างหน้าก่อน เมื่อทำท่ามือเมฆ (หวิ๋น โส่ว) ไม่เคลื่อนน้ำหนักทางขวาก่อนก้าวซ้ายไปทางซ้าย ในคัมภีร์โบราณกล่าวว่า “เมื่อต้องการเคลื่อนไปข้างหน้า ให้เคลื่อนไปข้างหลังก่อนเมื่อต้องการเคลื่อนไปด้านหลังให้เคลื่อนไปข้างหน้าก่อน เมื่อต้องการเคลื่อนไปยังทางซ้ายให้เคลื่อนไปทางขวาเมื่อต้องการเคลื่อนไปทางขวา ให้เคลื่อนไปทางซ้ายก่อน” สามารถอธิบายได้ท่าปัดเข่าซ้ายย่างก้าวไปยังปัดเข่าขวาย่างก้าว เมื่อก้าวเท้าไปยังท่าปัดเข่าขวาย่างก้าว ขณะที่ยังไม่ผลักมือซ้ายออกไป ฝ่ามือซ้ายคือ ฝ่ายมือหมุนตัว (ฟาน ถิ จ่าง) ไปยังด้านหลังแล้วจึงผลักไปด้านหน้า ในท่าถอยหลังผลักลิง ฝ่ามือจะผลักไปด้านหน้าก่อนใช้ฝ่ามือหมุนตัวไปด้านหลัง ก่อนฝ่ามือขวาเคลื่อนไปทางขวา ในท่ามือเมฆ คือ ขวาจะเคลื่อนไปทางซ้ายก่อนปัดออก (เผิง) ไปทางขวา ในคัมภีร์โบราณยังกล่าวไว้ว่า “เคลื่อนที่เหมือนสาวไหม” เป็นการกล่าวถึงการเคลื่อนที่ทั้งหมดของร่างกาย รำไท่ จี๋ ฉวน เหมือนดึงไหมออกจากรัง ควรมีความต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก ดังนั้น จึงไม่มีการผลักหรือดึงเส้นไหมเข้าออก ดังเช่น อาจารย์กู่ หลิว ชิน กล่าวไว้ “การถอยหลังจึงก้าวไปข้างหน้าเป็นเพียงการเคลื่อนที่ที่ไร้ประโยชน์

2. เป็นการสูญเสียพลังรังไหม (ฉาน ชือ จิ้ง) ในร่างกายส่วนล่าง เมื่อส่วนล่างเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อทุกส่วนล้วนผ่อนคลายและเคลื่อนไหวตามกัน โดยเกิดการต้านทานในร่างกายน้อยที่สุด และมีการบิดหมุนเคลื่อนไหวตามกันเป็นวงจร ส่งต่อกันไปทั่วส่วนล่างของร่างกาย (ต่ำกว่าเอว) การเคลื่อนไหวแบบวงจรรังไหมจะช่วยนวดอวัยวะภายใน และระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายส่วนล่าง ไท่ จี๋ ฉวน เป็นการออกกำลังกายที่ดียิ่ง และช่วยในการเสริมสร้างสุขภาพ ลักษณะเช่นนี้พบอย่างเด่นชัดในการเคลื่อนจากท่ายื่นคันธนูไปยังยืนท่าคันธนูอีกท่าหนึ่ง แม้ว่าในการย้ายน้ำหนักกลับก่อนย่างก้าวจะช่วยให้ผ่อนคลายได้มาก แต่วงจรของพลังรังไหมซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อ, ข้อต่อ, และเส้นเอ็น ในส่วนล่างของร่างกายล้วนสูญเสียไป
การเคลื่อนไหวแบบวงจรรังไหม ก็เหมือนกับคนสองคนกำลังบิดผ้าที่เปียก ถ้าผ้าไม่ถูกดึงให้ตึง ผ้าก็ไม่สามารถรับแรงบิดได้มาก และไม่ สามารถบิดน้ำออกได้หมด เช่นเดียวกับ การเดินแมวและพลังรังไหม ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนของกล้ามเนื้อ, ข้อต่อและเส้นเอ็น จากใต้เอวลงไป (ท่อนล่าง) มีการบิดหมุนเหมือนการบิดผ้า ผ้าต้องถูกดึงให้ตึงจากปลายทั้งสองด้าน จึงจะรับแรงได้มากพอในการบิดน้ำออกให้หมด เพราะฉะนั้นผู้ฝึก ไท่ จี๋ ฉวน พึงรู้ว่าการนั่งกลับไม่สามารถทำให้เกิดการบิดของกลุ่มกล้ามเนื้อของร่างกายส่วนล่าง เหมือนการพยายามบิดผ้าที่ไม่ตึงและไร้พลัง มันจึงเป็นการลดคุษณภาพของการเคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กันของกลุ่มกล้ามเนื้อในร่างกายส่วนล่าง ซึ่งหลักไท่ จี๋ กล่าวว่า “ไท่จี๋ฉวนใช้เวลาอันน้อยนิดก็สามารถเคลื่อนร่างกายและออกกำลังกายทุกส่วนได้อย่างสูงสุด”

3. เป็นการขัดกับหลักของไท่ จี๋ ฉวน ที่ว่า “เคลื่อนไหวเหมือนเมฆ และต่อเนื่องราวสายน้ำไหล” การนั่งกลับจึงเป็นการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาอันขัดกับหลักข้างต้น และจาก “ผู้ฝึกไท่ จี๋ เปรียบดังสายน้ำใหญ่ และมหาสมุทรที่ไหลไม่หยุดยั้ง” “ไม่มีการติดขัดชะงัก” การนั่งกลับก่อนก้าวเท้าเป็นการ “หยุดชะงักการไหลอันต่อเนื่องของแรง (ตวน จิ้ง) และขัดกับหลัก ไท่ จี๋ ฉวน ในทุกการเคลื่อนไหวของ ไท่ จี๋ ฉวน ล้วนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาของจีนและเป็นศิลปะหนึ่งแห่งตะวันออก ไท่ จี๋ ฉวน จึงเป็นราวกับเสียงดนตรี อันเสนาะหู การนั่งกลับก่อนก้าวจึงเป็นราวกับการเพิ่มตัวโน๊ตที่ไม่มีความสอดคล้องลงในเพลงคลาสสิค ความไพเราะและงดงามของทั้งหมดล้วนสูญเสียไป ความแตกต่าง (ของการก้าว) นี้ยังแตกต่างทั้งจากจีนและต่างประเทศ อาจารย์ ไท่ จี๋ ฉวน ในอเมริกา ชื่อ อู๋ ต้า ยี่ ได้จัดพิมพ์บทความในนิตยสารหลายฉบับ เช่น “ศิลปะการต่อสู้ของจีน (จง หัว อู่ ซู)” , “อู่หลิน”, และอื่นๆ ได้กล่าวไว้ว่าการนั่งกลับก่อนก้าวนั้นเกิดในจีนก่อนและเป็นผู้เขียนเองได้รอคอยมาเป็นเวลานานว่า บรรดาผู้ฝึกไท่ จี๋ ในจีน จะหันมาสนใจปัญหานี้ แต่ยังไม่มีใครสนใจและแก้ไข แต่อย่างไรก็ตาม โดยประสบการณ์ของผู้ฝึกดังเช่นอาจารย์อู่ ยัง มีความหวังว่า จะได้รับการสนใจและแก้ไขการก้าวเท้านี้ในไท่ จี๋ ฉวน